วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ไวยกรณ์ภาษาเกาหลี

반말 พันมัล เป็นภาษาพูดที่สุภาพน้อยกว่ารูป 아/어/여요(ซึ่งเป็นภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการแต่สุภาพในระดับหนึ่ง) ปกติจะใช้กับเพื่อนที่อายุใกล้เคียงกัน, เพื่อนสนิท, คนที่อายุน้อยกว่าหรือฐานะทางสังคมด้อยกว่า, เด็กๆ


“ㄹ” 불규칙 동사 เมื่อ Vst. ของคำกิริยาลงท้ายด้วยตัวสะกด ㄹ
- ตามหลังด้วยพัญชนะ ㄴ,ㅂ,ㅅ ให้ตัดตัวสะกด ㄹทิ้งไป
살다 + (ㅂ)습니다 --> 삽니다.
- ตามหลังด้วยสระที่ไม่ใช่ 아,어 ให้ตัดตัวสะกดㄹ ทิ้งไป
만들다 + (ㅂ)습니다 --> 만듭니다.
만들다 + (으) 세요 --> 만드세요.
만들다 + (으) 십시오 --> 만드십시오.
- ตามหลังด้วย (으)면 / (으)려고 Vst. ไม่ต้องเติม 으
팔다  팔면 / 팔려고


“ㄷ” 불규칙 동사
คำกิริยาที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด ㄷเมื่อ ㄷ เจอเสียงสระ ให้เปลี่ยน ㄷเป็นㄹ ยกเว้นคำว่า 닫다, 받다, 믿다 ซี่งจะผันไปตามกฎตามปกติ

묻다 + (으) 세요 --> 물으세요.
묻다 + 아/어/여요 --> 물어요.
묻다 + 았/었/였어요. --> 물었어요.


“ㅂ” 불규칙 동사
- Vst. ลงท้ายด้วยตัวสะกด ㅂ ตัด 다แล้วผันเจอกับเสียงสระ ให้เปลี่ยน ㅂเป็น 우
덥다 + 아/어/여요 --> 더우 --> 더우 + 어요 --> 더워요.
덥다 + 았/었/였어요 --> 더우 -->더우 + 었어요 --> 더웠어요.
덥다 + (으)면 --> 더우 --> 더우면
- ยกเว้น 돕다และ 곱다 ให้เปลี่ยน ㅂเป็น 오
돕다 + 아/어/여요 --> 도오 + 아요 = 도와요.
- 입다, 잡다, 좁다 ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวสะกดให้ผันไปตามกฎปกติ
입다 --> 입어요 / 입었어요 / 입어서 / 입으면



รูปแบบการใช้


1.ถ้าตัด 요 จากรูปประโยค 아/어/여요 ก็จะกลายเป็นภาษาพัลมัล เช่น
어제 뭐 했어요? --> 어제 뭐 했어?
ออเจ มวอ เฮทซอโย๊ะ? --> ออเจ มวอ เฮทซอ? = เมื่อวานทำอะไร
어디 가요? --> 어디 가?
ออดิ คาโย๊ะ? --> ออดิ คา? = ไปที่ไหน
오늘 시간이 있어요? --> 오늘 시간이 있어 = วันนี้ว่างไหม
왜요? --> 왜! = ทำไมหรือ




2.이다 เปลี่ยนเป็น 이야 และ 아니다 เปลี่ยนเป็น 아니야
친구예요. --> 친구야
ชิ่นกูเยโย. --> ชิ่นกูยา = เป็นเพื่อนกัน
그 사람이 누구예요? 그 사람이 누구야?
คือ ซารามี นูกูเยโย๊ะ? --> คือ ซารามี นูกูยา? = คนนั้นเป็นใคร
이건 완 책이야? 아니야, 유리 책이야.
อีกอน หวาน แซกียา? อานียา, ยูริ แซกียา = อันนี้หนังสือหวานหรือ? ไม่ใช่, หนังสือยูริ




3.ใช้ในรูปอนาคตเปลี่ยนจากรูป (ㅇ)ㄹ 거예요.เป็น (ㅇ)ㄹ 거야
여기사진을 찍을 거예요. --> 여기사진을 찍을 거야.
ยอกี ซาจีนึล จิกึล กอเยโย. --> ยอกี ซาจีนึล จิกึล กอยา = จะถ่ายรูปตรงนี้
같이여행갈 거예요. --> 같이여행갈 거야.
คาชี่ ยอแฮงคัล กอเยโย --> คาชี่ ยอแฮงคัล กอยา. = จะไปเที่ยวด้วยกัน




4.ตอบ Yes, No
네 --> 어 , 아니요. --> 아니
เน --> ออ, อานีโย --> อานี




5.คำชักชวนในความหมาย “ กันเถอะ” เติม 자 ที่คำกริยา
점심 시간이야. 밥 먹자.
ชอมชิม ชีกานียา. พับม็อกจา = เวลาอาหารกลางวัน. กินข้าวกันเถอะ.
ในทางตรงกันข้ามเป็นการห้าม เติมคำว่า 지마
위험해서저기 가지마세요. --> 위험해서저기 가지마
วีฮอมแฮซอ ชอกี คาจีมาเซโย. / วีฮอมแฮซอ ชอกี คาจีมา = เพราะอันตรายอย่าไปที่นั่นเลย




6.คำสรรพนามก็ต้องเปลี่ยนเหมือนกัน สำหรับผู้พูด
저는 --> 나는 ชอนึน / นานึน = ฉัน (ประธาน)
제가 --> 내가 เชกา / แนกา = ฉัน (ประธาน)
저를 --> 나를 ชอรึล / นารึล = ฉัน (กรรม)
저도 --> 나도 ชอโด / นาโด = ฉันด้วย
저한테 --> 나한테 ชอฮันเท / นาฮันเท = ถึงฉัน, สำหรับฉัน
제 --> 내 เช/ แน = ของฉัน


สำหรับผู้ฟังเหมือนคำที่กล่าวมาแล้วแต่จะเปลี่ยนจาก 나 เป็น 너 และ 내เป็น 네




7.การเรียกชื่อ หลายคนคงคุ้นเคยกันดีแล้ว
เติม 아 สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วยตัวอักษร 지훈아 อ่านว่า ชีฮูนา
เติม 야 สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วยสระ 유리야 อ่านว่า ยูริยา


아/어/여서 ใช้เป็นคำเชื่อมประโยคเหมือนกันแต่มีวิธีใช้ต่างกันคือ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อัพเดทเมื่อวันอาทิตย์ 6 กุมภาพันธ์ 2554


8. ㄹ / 을게요 (께요) แปลว่า จะ ใช้ในประโยคบอกเล่าเท่านั้นผู้พูดกับผู้ฟังต้องสนิทกันพอสมควร มักใช้บอกความตั้งใจของตัวเรา (ตั้งใจ+สัญญา) จะทำชัว แตกต่างจาก 겠 คือ อาจจะไม่ทำก็ได้(ไม่แน่นอน)


보기1   나: 오늘은 무엇을 할 거예요? วันนี้จะทำอะไรคะ
        
             너: 오늘은 숙제를 할게요. ฉันจะทำการบ้านคะ


보기2   나: 언니는 배가 고파요. พี่สาวหิวข้าวค่ะ
             
             너: 그러면 내가 요리를 할게요. ถ้างั้นฉันจะไปทำให้เองค่ะ


 보기3  나: 배 고픈데 돈이 없어요. หิวแต่ไม่มีเงินค่ะ
             너: 제가 사 줄게요. เด๋วฉันซื้อให้ค่ะ


**열심히 공부를 할게요 ฉันจะตั้งใจเรียน **


9.(이)나 ใช้เชื่อม นาม กับ นาม แปลว่า "หรือ"
보기 - 기차나 비행기로 가세요? จะไปโดยรถไฟหรือเครื่องบินค่ะ
         - 커피나 인삼차를 주세요  จะรับกาแฟหรือชาโสมดีค่ะ


นอกจากนี้ 이나 ยังแปลว่า "ตั้ง" ได้อีกด้วย
보기 - 5 명이나 있어요?มีแฟนตั้ง5คนเลยหรอคะ?
         - 2000 바트나요?ตั้ง2พันบาทเลยหรอค่ะ?


10.-(으)니까 ใช้เชื่อมเหตุและผล แปลว่า "เพราะ" ประโยคหน้าเป็นสาเหตุ ประโยคหลังเป็นผลลัพท์เสมอ โดยประโยคปิดท้ายต้องลงด้วย คำสั่ง ขอร้อง หรือ ชักชวน ประโยคแรกสามารถเป็นอดีตได้


보기 -오늘을 날씨가 추우니까 옷을 많이 입으세요 เพราะว่าวันนี้อากาศหนาวใส่เสื้อเยอะๆนะคะ 
          สามารถตัดได้เป็น -오늘을 날씨가 추우니까요 เพราะวันนี้อากาศหนาวคะ
         
          - 그분은 한국에서 오래 살았으니까 한국말을 잘 합니다
             เพราะท่านนั้นอยู่เกาหลีมานานแล้วเลยพูดภาษาเกาหลีได้ดีคะ
          สามารถตัดได้เป็น - 그분은 한국에서 오래 살았으니까 เพราะท่านนั้นอยู่เกาหลีมานานแล้วคะ
        
          - 버스는 복잡하니까 택시를 탑시다 เพราะรถเมล์คนแน่นนั้งแท็กซี่กันเถอะคะ
          สามารถตัดได้เป็น -버스는 복잡하니까 เพราะรถเมล์คนเยอะคะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
อัพเดทเมื่อวันที่12มีนาคม 2554


การใช้ 는/은데 แปลว่า เพราะ


คือ ถ้าเชื่อมประโยค 2 ประโยค ใช้ได้ 3 กรณี ดังนี้


1.ใช้เชื่อม 2 ประโยค โดยมีเหตุการณ์ที่1 กิดขึ้นก่อนแล้วเกิดเหตุการณ์ที่2ตามมา
-비가 오는데 밖에 나갈 거예요? ฝนตกแล้วจะออกไปข้างนอกอีกหรอ
-오늘은 일요일인(V.이다)데 화사에 가세요?วันนี้เป็นวันอาทิตย์จะไปบริษัทอีกหรอ


2.ใช้เชื่อม 2 ประโยคที่มีความขัดแย้งในเรื่องของเวลา ความหมาย สาเหตุผลลัพท์หรือความสัมพันธ์
-날씨가 아주 추운데 집에 빨리 갑시다เพราะอากาศหนาวบ่อยรีบกลับบ้านกันถอะ
-밥을 많이 먹었는데 아직도 먹고 싶어요เพราะกินข้าวเยอะแล้วแต่ยังอยากกินอีก


3.ใช้บอกความตั้งใจของผู้พูด เพื่อรอดูปฎิกริยาตอบสนองจากผู้ฟัง
-오늘은 날씨가 좋은데...~ วันนี้อากาศดีเนอะ~
-지금은 돈이 없는데요ตอนนี้ไม่มีตัง....


AV+는데→ 가는데 ,먹는데


กริยาลงท้าย 있다/없다 + 는데 → 재미있는데,맛있는데
-DV+ㄴ/은데→ 좋은데,예쁜데
-V+있/었/였는데 → 갔는데,청소했는데


(으)면 : ถ้า คือรูปแบบการแสดงดงื่อนไข


보기
-배가 고프면 식사하세요ถ้าปวดท้องก็กินข้าวสิคะ
-머리가 아프면 약을 드세요ถ้าปวดหัวก็กินข้าวสิคะ
-시간이 있으면 놀러 오세요ถ้ามีเวลามาเล่นกันสิคะ


**แตกต่างจาก 겠 คือ 겠 ใช้พูดโดยสื่อถึงตัวเราเป็นหลัก**


ㄹ/을 거예요? (ㄹ/을 것이다) *이다
V+ㄹ/을 거예요 คือรูปแบบ การลงท้ายประโยคบอกเล่า ชนิดหนึ่งในกาลอนาคต ใช้บอกความตั้งใจหรือการกระทำในอนาคต ใช้บอกความตั้งใจหรือการกระทำในอนาคต แปลว่า จะ,ควรจะ
 보기
-그 친구는 열심히 일할 거예요 เพื่อนคนนั้นควรจะตั้งใจทำงาน
-오늘은 저는 부산에 갈 거예요 วันนี้ฉันจะไปปูซาน
-내일은 학교에 갈 거예요 พรุ่งนี้ฉันจะไปมหาวิทยาลัย


에게서รับ/한테서จาก
-진한 친구한테서 은종을 받았어요ฉันได้คำอวยพรจากเพื่อนสนิท
-진한 친구에게서 돈을 발렸어요ฉันได้รับเงินมาจากเพื่อนสนิท


만 แปลว่า เท่านั้น วางไว้หลังคำนาม


-10분만 자고 싶어요 อยากนอนแค่10นาทีเท่านั้น
-잠깜만 기다리세요รอเด๋วเดียวเท่านั้น
-조금만 더 주세요ขออีกนิสเดียวเท่านั้น


(ㅇ)ㄹ 게요. วิธีเติมและความหมายเดียวกันกับ (ㅇ)ㄹ 거예요


- (ㅇ)ㄴ 일(적)이 있다/없다 วางไว้หลัง Vst. แปลว่า เคย... /ไม่เคย...
저는 일본에 간 일이 없습니다.
ชอนึน อิลโบเน คัน อิรี อ๊อบซึมนิดา. = ฉันไม่เคยไปที่ประเทศญี่ปุ่น



- 에 대해(서) = about (Someone / Something) เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง
이 드라마는 대무실왕에 대해서 이야기했어요.
อี ทือรามานึน แทมูชิลวังเอ แทแฮซอ อียากีแฮทซอโย. = ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์แทมูชิล
마이클 씨가 한국 문화에 대해서 많이 알아요.
มาอีคึลชี่กา ฮันกุกมุนฮวาเอ แทแฮซอ มานี อาราโย. = ไมเคิลรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเกาหลีมากมาย

- 제일 / 가장 วางหน้าคำกริยา แปลว่า ที่สุด제일 และ 가장 มีความหมายเดียวกัน
세계에서 에베레스트 산이 가장 높아요.
เซคเยเอซอ เอเบเรซึทึ ซานี คาจัง โนพาโย = ภูเขาเอฟเวอร์เรสสูงที่สุดในโลก
슈퍼주니어 중에서 누구 제일 좋아해요?
ซูพอจูนีออ ชูเงซอ นูกู เชอิล โชอาแฮโย ? = ในบรรดาซุปเปอร์จูเนียร์ ชอบใครมากที่สุด



- 고 싶어 하다. เคยรู้จัก 고 싶다 กันไปแล้วซึ่งใช้อธิบายความปรารถนา, ความต้องการของเราว่า อยากทำ... อยากได้... อยากกิน... ฯลฯ แต่고 싶어 하다 ใช้อธิบายความต้องการของบุคคลที่ 3
저는 한국에 가고싶어요.그런데 제친구는 일본에 가고 싶어해요.
ชอนึน ฮันกูเก คาโกชิพอโย. คือรอนเด เชชิ่นกูนึน อิลโบเน คาโกชีพอแฮโย. ฉันอยากไปเกาหลีแต่เพื่อนของฉันอยากไปญี่ปุ่น

(이)서 ใช้กับคำนาม เพื่อบอกจำนวน
혼자서 여행을 가요.
ฮนจาซอ ยอแฮงอึล คาโย. = ไปเที่ยวคนเดียว
둘이서 같이해요.
ทูรีซอ คาชี่ แฮโย. = ทำด้วยกัน 2 คน
셋이서 같이 살아요.
เซชีซอ คาชี่ ซาราโย. = อาศัยอยู่ด้วยกัน 3 คน



군요/ 는군요
เป็นคำลงท้ายประโยคอุทานเพื่อแสดงการรับรู้ความจริงบางอย่างที่ไม่ทราบมาก่อน หรือใช้เพื่อแสดงอาการตกใจ
* ประโยคที่ลงท้ายด้วยคำกริยาคุณศัพท์ หรือ คำกริยาในรูปอดีต ใช้ 군요.
집이 멀군요. ชิบี มอลกุนโย = บ้านไกลจังเลย
음식이 앗있군요. อึมชีกี มาซิชกุนโย = อาหารนี้อร่อยจังเลย
물건을 많이 사셨군요.มุลกอนึล มานี ซาช็อซกุนโย = ซื้อของเยอะจังเลย
* ประโยคที่ลงท้ายด้วย คำกริยาการกระทำในรูปปัจจุบัน ใช้ 는군요.
테니스를 자주 치는군요. เทนีซือรึล ชาจู ชี่นึนกุนโย = ตีเทนนิสบ่อยจังเลย
공부를 열심히하는군요. คงบูรึล ยอลชีมี ฮานึนกุนโย = ขยันเรียนจังเลย



겠군요.
ใช้แสดงการคาดเดาผลที่อาจเกิดเกี่ยวกับสิ่งที่เพิ่งได้รับรู้นั้น แปลว่า คง...น่าดูเลย, ...แย่เลย โดยวางไว้หลัง Vst.
배가고프겠군요. แพกา โคพือเก็ซกุนโย = หิวแย่เลย
한국말을 잘하겠군요. ฮันกุกมารึล ชัลฮาเก็ซกุนโย = คงพูดภาษาเกาหลีเก่งน่าดูเลย


네요.
วางหลังประโยคเพื่อแสดงความรู้สึกตกใจ แปลกใจ หรือเมื่อได้รับรู้ความจริงใหม่ๆ ที่ไม่ทราบหรือคิดมาก่อน ปัจจุบันนิยมใช้แทน 군요.
오늘 날씨가 참 따뜻하네요.
โอนึล นัลชี่กา ชั่ม ตาตือทาเนโย = วันนี้ อากาศอบอุ่นมากๆเลย
사람이 많네요. ซารามี มันเนโย = คนเยอะจังเลย

아/어/여 야해요.
วางไว้หลัง Vst. แปลว่า ต้อง (must) โดยการผันแบบ 요 แต่ไม่ต้องเติม요 แต่ให้ใช้ 야해요. แทน
지금 가야해요. ชีกึม คายาแฮโย. = ต้องไปตอนนี้
미리 예약해야해요. มีรี เยยักแฮ ยาแฮโย = ต้องจองก่อน이책을 읽어야해요. อี แชกึล อิลกอ ยาแฮโย = ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้


기 (A nominal ending)
เปลี่ยนคำกิริยาให้เป็นคำนาม โดยตัด 다 เติม 기
배우다 = 배우기 เรียน --> การเรียน
가르치다 = 가르치기 สอน --> การสอน
말들다 = 만들기 ทำ --> การทำ
사용하다 = 사용하기 ใช้ --> การใช้
먹다 = 먹기 กิน --> การกิน

(으)ㄴ (Modifying ending of description verb)
เป็นการทำคำกิริยาคุณศัพท์ (คำกิริยาอธิบายสภาพ) ให้อยู่ในรูป adjective เพื่อขยายคำนาม
- วางไว้หลัง Vst. คำกิริยาลงท้ายด้วยสระเติม ㄴ
예쁘다 (สวย) 여자(ผู้หญิง) --> 예쁜여자 = เยปึน ยอจา (ผู้หญิงที่สวย)
무섭다 (น่ากลัว) 여자(ผู้หญิง) --> 무서우 --> 무서운 여자 = มูซออุน ยอจา (ผู้หญิงที่น่ากลัว)
- วางไว้หลัง Vst. คำกิริยาลงท้ายด้วยตัวสะกดเติม 은
촣다(ดี) 날씨(อากาศ) --> 촣은날씨 = โชอึน นัลชี่ (อากาศที่ดี)
- คำกิริยา 있다, 없다เติม 는
맛있다(อร่อย) 음식(อาหาร) --> 맛있는 음식 มาชินนึน อึมชิก (อาหารที่อร่อย)
재미없다(สนุก) 영화(หนัง) --> 재미있는 영화 แชมีออมนึน ยองฮวา (หนังที่สนุก)


어느 + N. = ไหน (which one)
어느 사람입니까?
ออนือ ซารัม อิมนีก้า - คนไหนหรือคะ
어느 학원에서 한국말을 배웁니까?
ออนือ ฮา กวอ เน ซอ ฮันกุก มารึล แพ อุม นี ก้า - เรียนภาษาเกาหลีที่สถาบันไหนหรือคะ

마다 (มาดา) = แต่ละ, ทุกๆ (each, every)
요즘 날마다 책을 읽습니다.
โยจึม นัลมาดา เซกึล อิกซึมนีดา - ช่วงนี้อ่านหนังสือทุกวัน
버스는 20 분마다 있습나다.
พอซือ นึน อีชิบปุน มาดา อิซซึมนีดา - รถเมล์มีทุกๆ 20 นาที


몇 (มยอด) = กี่ (how many)
가족이 몇 명 있습나까?
คาโจกี มยอน มยอง อิซซึมนีก้า - ครอบครัวมีกี่คนคะ
나이가 몇 살입니까?
นาอีกา มยอด ซาริมนีก้า - อายุกี่ปี หรือ อายุเท่าไหร่นั่นเองคะ
실례지만 지금 몇 시입니까?
ชิลเรจิมาน ชีกึม มยอด ชีอิมนีก้า - ขอโทษคะ ตอนนี้กี่
โมงคะ

N. 전에/ V. 기전에 (ชอเน, กีชอเน) (ago, before) เมื่อ ~ ก่อน, ก่อน
N. + 전에
두해전에 한국에 갔습니다.
ทูแฮ ชอเน ฮันกุกอ คัทซึมนิดา = เมื่อ 2 ปีก่อน ไปประเทศเกาหลี
한 시간전에희절씨를 만났습나다.
ฮัน ชีกัน ชอเน ฮีชอลชี่รึล มันนัทซึมนีดา = เมื่อ 1 ชั่วโมงก่อนได้พบคุณฮีชอล

V. + 기전에 -->
식사하기 전에 손을 씻으십시오.
ชิกซาฮากี ชอเน โซนึล ชี่ชือชิบชีโอ = ก่อนรับประทานอาหาร กรุณาล้างมือ
학교에 가기전에 밥을 먹어요.
ฮักกโยเอ คากีชอเน พาบึล มอกอโย. = กินข้าวก่อนไปโรงเรียน

후에 ฮูเอ (after) หลัง, อีก -- เหตุการณ์หรือการกระทำที่ต้องการพูดถึงวางไว้หลัง후에 ส่วนด้านหน้าวางได้ทั้ง Noun & Verb
N. + 후에
집후에 무었을 했습니까?
ชิบ ฮูเอ มูออซึล เฮทซึมนีก้า? = ทำอะไรหลังกลับบ้าน?
식사후에 약을 먹었습니다.
ชิกซาฮูเอ ยากึล มอกอท ซึมนิดา = กินยาหลังรับประทานอาหาร
10 분후에 다시 전화 하겠습니다.
ชิบบุน ฮูเอ ทาชี ชอนฮวา ฮาเกทซึมนิดา = อีก 10 นาทีจะโทรมาใหม่
1 시간 후에 손님이 옵니다.
ฮัน ชีกัน ฮูเอ ซนนีมี อมนิดา = อีก 1 ชั่วโมงลูกค้ามา


V. + ㄴ/은 후에
V ลงท้ายด้วยสระ เติม ㄴ 후에
아버지가 회사에 간후에 어머니는 청소하셨습니다.
อาบอจีกา ฮเวซาเอ ฮู เอ ออมอนีนึน ช่องโซฮา ช๊อดซึมนิดา = หลังจากคุณพ่อไปบริษัท คุณแม่ทำความสะอาด / หรือ คุณแม่ทำความสะอาดหลังจากคุณพ่อไปบริษัท
아짐에 일어난 후에 운동합니다.
อาจิเม อิรอนัน ฮูเอ อุนดง ฮัมนิดา = ออกกำลังกายหลังจากตื่นนอน
V ลงท้ายด้วยตัวสะกดเติม 은 후에
사진을 찍은후에 구경을 하겠습니다.
ซาจีนึล จิกึล ฮูเอ คูคยองอึล ฮาเกทซึมนิดา = จะถ่ายรูปหลังจากเดินชม

거나 (กอ นา)= Or (หรือ)ใช้เชื่อมคำกริยาหรือระหว่างประโยคสองประโยคโดยวางไว้หลังคำกริยาตัวแรกแปลว่า “หรือ” “หรือไม่ก็” เพื่อแสดงการกระทำหรือสถานการณ์สองอย่างซึ่งไม่ได้ทำหรือเกิดขึ้นพร้อมกันหากแต่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
주말마다 친구를 만나거나 영화를 봅니다.
ชูมัล มาดา ชิ่นกูรึล มันนา กอนา ยองฮวารึล พมนิดา = ทุกๆสุดสัปดาห์ ดูหนังหรือพบเพื่อน
신문을 읽거나 텔레비전을 봅니다.
ชินมูนึล อิกกอนา เทลเรบีจอนึล พมนิดา = ดูทีวีหรืออ่านหนังสือพิมพ์
수영을하거나 테니스를 칩니다.
ซูยองึล ฮากอนา เทนีซึรึล ชิมนิดา = ตีเทนนิสหรือว่ายน้ำ


 와 / 과 , 하고 (วา, กวา, ฮาโก) = and (และ, กับ) ใช้เชื่อมระหว่างคำนามกับคำนาม
คำนามตัวแรกลงท้ายด้วยสระใช้ 와
사과와 포도 / ซากวา วา โพ่โด = องุ่นและแอปเปิ้ล
맥주와 술을 마셔요. แม็กจู วา ซูรึล มาชยอโย = ดื่มเหล้าและเบียร์
คำนามตัวแรกลงท้ายด้วยตัวสะกดใช้ 과
가방과 구두 / คาบัง วา คูดู = รองเท้าและกระเป๋า
한국과 일본에 가겠어요. ฮันกุก กวา อิลโบเน คาเกทซอโย = จะไปญี่ปุ่นและเกาหลี


고, 그리고 (โก) , คือ รี โก) = and ใช้เชื่อมประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปโดย 2 ประโยคต้องมีน้ำหนักเท่ากัน สถานะเท่ากัน
동생은 영어를 배우고 저는 한국어를 배웁니다.
ดงเซงึน ยองอรึล แพอูโก ชอนึน ฮันกุกอรึล แพอุมนิดา = น้องเรียนภาษาอังกฤษและฉันเรียนภาษาเกาหลี
제가 텔레비전을 보고 음악을 듣겠어요.
เชกา เทลเรบีจอนึล โพโก อือมากึล ทึดเกซอโย. = ฉันจะฟังดนตรีและก็ดูทีวี




**그리고 ความหมายเดียวกันแต่จะเชื่อมประโยค 2 ประโยคและทั้งสองประโยคต้องผันกริยาทั้งคู่ (แยกเป็น 2 ประโยค เชื่อมด้วย그리고)
제가 텔레비전을 보겠어요. 그리고 음악을 듣겠어요.
เชกา เทลเรบีจอนึล โพเกทซอโย. คือรีโก อือมากึล ทึดเกซอโย. = ฉันจะฟังดนตรีและก็ดูทีวี




*** 와/과 같이(วา/กวา คาชี่), 함께 (ฮัมเก) (together with) ด้วยกันกับ
ลงท้ายด้วยสระใช้ 와
친구와 같이 테니스를칩니다.
ชิ่นกู วา คาชี่ เทนีซึรึล ชิมนิดา. = ตีเทนนิสด้วยกันกับเพื่อน




ลงท้ายด้วยตัวสะกดใช้ 과
동생과 같이 영화를 봅니다.
ทงเซง กวา คาชี่ ยองฮวารึล พมนิดา = ดูหนังด้วยกันกับน้อง




함께 มีความหมายเดียวกับ같이 เพียงแต่ใช้แทน 같이ได้เลยโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าลงท้ายด้วยสระหรือตัวสะกด

게 하다 ทำให้
เช่น 세상이 날 울게 해도 나는 괜찮아 แม้ว่าโลกนี้จะทำให้ฉันร้องไห้ฉันก็จะไม่เปนไร-*-ใช่ปะ?

지 마십시오 / 지 마세요 = Don’t
* วางไว้หลัง V stem เพื่อแสดงการสั่ง, แนะนำ ไม่ให้ใครทำอะไร อย่างสุภาพ
* เป็นรูปปฎิเสธของ (ㅇ) 십시오 / (ㅇ) 세요
* มาจาก지 말다 + (ㅇ) 십시오 / (ㅇ) 세요

이 영화를 보지마십시오.
อี ยองฮวารึล โพจีมา ชิบชีโอ. = โปรดอย่าดูหนังเรื่องนี้
창문을 열지마세요.
ช่างมูนึล ยอลจีมาเซโย = กรุณาอย่าเปิดหน้าต่าง
쓰레기를 버리지마세요.
ซือเรกีรึล พอรีจีมาเซโย = โปรดอย่าทิ้งขยะ


안 = not
- ใช้วางหน้าคำกริยาเพื่อทำให้เป็นรูปปฎิเสธ แปลว่า ไม่
가다  안 + 갑니다. / 안 가요.
คา ดา  อัน + คัม นี ดา / หรือ อัน คา โย. แปลว่า ไม่ไป
คำที่ต้องระวังคือคำกริยาที่เกิดจากการผสมคำระหว่างคำนามและคำกริยา 하다 เช่น숙제하다, 일하다, 공부하다, 운동하다 เป็นต้น คำกริยาประเภทนี้จะต้องแยกคำนามออกก่อนเพื่อวาง 안ไว้หน้า 하다 ซึ่งถือว่าเป็นกริยาแท้เท่านั้น
숙제하다  수제를 + 안 + 합니다 = 수제를 안 합니다

왜 전화를 안 했습니까?
เว ชอน ฮวา รึล อัน เฮด ซึม นี ก้า = ทำไมไม่โทรศัทพ์
오늘은 학교에 안 갑니다.
โอ นือ รึน ฮัก กิว เอ อัน คัม นิ กา = วันนี้ไม่ได้ไปโรงเรียน




V + 고 있다. = กำลัง
วิธีใช้ ให้ตัด다 ของ V-stem. ทิ้งแล้วเติม 고있다 (ยังไม่ได้ผันกริยา)


2 ความคิดเห็น:

  1. ว้าวหามาหลายเว็บๆนี่มาครบเลยอ่ะขอบคุณนะคะ

    ตอบลบ
  2. สุดยอดมากค่ะขอชื่นชมคนเขียนนะค่ะ

    ตอบลบ